background
อาทิตย์, 12 กรกฎาคม 2020

พูดถึง New Normal อีกครั้ง

ถ้า new normal เป็นเพียงแค่การป้องกัน COVID -19 มันคงไม่ใช่ new normal

COVID-19 มาเพื่อ Disrupt ระบบ ทั้งหมด คงต้องมาคิดแล้วว่าสิ่งที่ทำอยู่มันคุ้มค่า พอเพียงหรือไม่ ไม่อย่างงั้นคิดว่าเป็นแค่การ social distancing ล้างมือ ใส่หน้ากาก มันไม่ใช่ new normal แต่มันเป็น self protection พอมันเลิกระบาดแล้วก็กลับมา normal (ดูประเทศไทยตอนนี้)

new normal

ด้านอาชีวอนามัย

ถ้าดูกิจกรรมที่น่าจะทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อโรคได้ ก็มีทั้ง ในงานสายพาน การรวมกลุ่มกันตอนเช้าเพื่อทำกิจกรรมคุณภาพ การพัก การเลิกงาน (เพราะคนทำงานจะกรูกันออกจากโรงงาน) การตรวจสุขภาพ ต้องมาคิดใหม่ว่าจะมีทางเลือกจากสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร (alternative ways)

  1. งานประจำ งานสายพาน งานที่ต้องทำงานใกล้ชิดกัน คงหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะส่วนมากเป็น core business ของโรงงาน new normal ในเรื่องนี้คือ
    1. ให้ความรู้พนักงาน โดยแทรกในทุกสื่อ ตอนนี้โรงงานคงต้องทำ กลุ่มสื่อสาร เพื่อให้ข่าวสารด้านการป้องกัน และ update สถานการณ์ตลอดเวลา กลุ่มสื่อสารนี้จะกลายเป็น new normal โดยแท้จริง เพราะจะกลายเป็น risk communication ทางใหม่ของโรงงาน
    2. มีการผนวกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ในทุกการประชุม อันนี้ก็จะเป็น new normal เช่นกัน คือ การใส่เรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเข้าไปในทุกการสื่อสาร และในโครงสร้างขององค์กร ตลอดเวลา
    3. การเฝ้าระวังกันและกัน เพื่อนร่วมงานจะใส่ใจกันมากขึ้น คอยถามไถ่เวลาไม่สบาย หรือการไม่ใส่หน้ากาก มีการเฝ้าระวัง presentiism คือการมาทำงานทั้งที่ร่างกายไม่ปกติ ซึ่งเป็นnew normal
    4. มีการคัดกรองไข้ ที่ประตู อันนี้ก็จะเป็น new normal เวลาเกิดโรคระบาดขึ้น
  2. การรวมกลุ่มกันตอนเช้าเพื่อทำกิจกรรมคุณภาพ new normal คือ กิจกรรมจะถูกสื่อสารผ่านทาง social media หรือกลุ่มสื่อสารของโรงงาน ซึ่งจะทำให้กิจกรรมคุณภาพสามารถดูได้ตลอดเวลา ทั้งในคนทำงานที่หยุดงานในวันนั้นด้วย
  3. การพัก การเลิกงาน new normal ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาการแออัดของสถานที่พัก และ โรงอาหาร คือการแบ่งเวลากันไปพัก ซึ่งคงเป็น สิ่งที่ปฏิบัติต่อไปแม้ COVID-19 จะไม่ระบาดแล้ว
  4. การตรวจสุขภาพ การแก้ปัญหา คงต้องตอบปัญหาก่อน
    1. เราหากลุ่มที่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพได้หรือไม่
    2. จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องตรวจสุขภาพทุกปี
    3. การตรวจอะไรที่ทำให้มีการแพร่เชื้อได้ง่าย เช่นการตรวจสมรรถภาพปอด
    4. ตรวจแล้วเอาผลไปทำอะไร

ต่อไปนี้ new normal คือ

  1. ตรวจคนที่จำเป็นต้องตรวจ
  2. ตรวจเท่าที่จำเป็นตามเวลาที่เหมาะสม
  3. การตรวจที่เป็นการแพร่เชื้อ จะต้องมีการตัดสินใจว่าจะตรวจหรือไม่ตรวจ โดยดูผลดี และผลเสีย ถ้าตรวจหรือไม่ตรวจ
  4. ดังนั้น new normal ในการตรวจสุขภาพคือพอเพียง กระทรวงแรงงาน ต้องแก้กฏหมาย คำว่าตรวจทุกปี ต้องเอาออก เป็นตรวจตามข้อบ่งชี้พอ
  5. โรงงานจะประหยัดค่าตรวจสุขภาพ ซึ่งสามารถเอาไปเป็นสวัสดิการด้านอื่นของโรงงานให้กับคนทำงาน ดีกว่าสูญเปล่าในการตรวจสิ่งที่ไม่จำเป็นหรือในความถี่ที่ไม่เหมาะสม
  6. ในช่วง COVID 19 ระบาดครั้งแรก มีการงดการตรวจสมรรถภาพปอดเพราะเป็นการตรวจที่แพร่เชื้อ และคนตรวจต้องใส่ชุดป้องกัน (PPE) ซึ่งขาดแคลนอยู่แล้ว จึงงดตรวจ แต่หลังจากการระบาดลดลง แทนที่จะศึกษาว่าการงดตรวจ มีผลเสียหรีอไม่ กลับต้องตรวจเพราะกฏหมายกำหนด