
การตรวจเพื่อดู fit for work (ความพร้อมในการทำงาน) นั้น ต้องตรวจตามลักษณะงานที่ทำ แต่ก็มีลักษณะพื้นฐานที่พบได้ในงาน ซึ่งมีลักษณะสำคัญดังนี้
1. กำลัง (strength)
แสดงในรูปแบบของงานนั่งเฉย งานเบา งานที่ต้องออกแรงปานกลาง งานที่ต้องออกแรงมาก งานหนักมาก มีการวัดที่สำคัญคือ
- ท่าทางของคนทำงาน
- ยืน: ยืนเฉยด้วยขาข้างเดียวในบริเวณที่ทำงานโดยไม่มีการเคลื่อนไหว
- เดิน: เดินไปมาได้
- นั่ง: นั่งเฉยในท่าธรรมดา
- คนทำงานเคลื่อนไหววัสดุ โดยใช้แขนขา
- ยก: ยกขึ้นหรือวางสิ่งของลงจากระดับหนึ่งไปสู่อีกระดับหนึ่ง
- ถือ: เคลื่อนย้ายวัสดุ ในมือ หรือแขนหรือบ่าไหล่
- ผลัก: ใช้แรงที่วัสดุเพื่อเคลื่อนย้าย (ผลัก เตะ)
- ดึง: ออกแรงเคลื่อนวัสดุเข้ามาใกล้ตัว
ความต้องการทางกายภาพห้าระดับ (ใช้ METs ในการวัด)
S Sedentary work (งานนั่งเฉย) (<2METs): ยกของหนักสูงสุด 10 ปอนด์ (4.5 กก.) ซึ่งอาจมีการใช้เครื่องช่วย งานนั่งเฉย ก็มีการเดิน การยืน บ้าง แต่เป็นครั้งคราวเท่านั้น
L Light work (งานเบา) (2-3 METs) ยกของหนักสูงสุด 20 ปอนด์ (9 กก.) และมีการยกหรือถือวัสดุน้ำหนัก มากกว่า 10 ปอนด์ (4.5 กก.) แม้ น้ำหนักที่ยกจะน้อยมาก จะนับว่าอยู่ในระดับนี้จะต้องมีการเดิน ยืน มาก พอควร หรือมีการนั่งในเวลาส่วนมากโดยมีการใช้แขนดึง หรือ ผลัก หรือใช้ขาควบคุม
M Medium work (งานที่ต้องออกแรงปานกลาง) (4-5 Mets) ยกวัสดุหนักสูงสุด 50 ปอนด์ (23 กก.) โดยมีการยก หรือถือวัสดุหนัก 25 ปอนด์ (11.5 กก.) บ่อยครั้ง
H Heavy work (งานที่ต้องออกแรงมาก-งานหนัก) (6-8 Mets) ยกวัสดุหนักสูงสุด 100 ปอนด์ (45 กก.) โดยมีการ ยกหรือถือวัสดุหนัก 50 ปอนด์ (23 กก.) บ่อยครั้ง
V Very heavy (งานหนักมาก) (8 Mets) ยกวัสดุหนักสูงสุด 100 ปอนด์ (45 กก.) โดยมีการยกหรือถือวัสดุหนัก 50 ปอนด์ (23 กก.) บ่อยครั้ง
2. งานปีนป่ายหรือทรงตัว (Climbing and/or balancing)
- การปีนป่าย: การปีนขึ้นหรือลงบันใดยืน บันใด เสา เชือก โดยใช้ขาและเท้า และ/หรือ แขน และมือ
- การทรงตัว: ทรงตัวเพื่อป้องกันการตกเมื่อเดิน ยืน วิ่งบนทางแคบ พื้นเปียก
3. การก้มตัว การคุกเข่า การหมอบ การคลาน (stooping, kneeling, crouching and/or crawling)
- การก้มตัว: การงอตัวลงและไปข้างหน้าโดยงอกระดูกสันหลังบริเวณเอว
- การคุกเข่า: การงอขาที่หัวเข่าและพักบนเข่าข้างเดียวหรือสองข้าง
- การหมอบ: การงอตัวลงและไปข้างหน้าโดยงอที่ขาและกระดูกสันหลัง
- การคลาน: การเคลื่อนไหวโดยใช้มือและหัวเข่า หรือมือและเท้า
4. การเอื้อม การถือ การหยิบ และ/หรือ การใช้ความรู้สึก (reaching, handling, fingering, and feeling)
- การเอื้อม: การยืดมือและแขนในทิศทางใดๆ
- การถือ: การยึด ถือ จับ หมุน หรือทำงานโดยใช้มือข้างเดียวหรือสองข้าง (โดยไม่ใช้นิ้ว)
- การหยิบ: การหยิบ การจีบมือจับ หรือทำงานโดยใช้นิ้วมือเป็นหลัก
- การใช้ความรู้สึก: ใช้ความรู้สึกรับรู้ลักษณะของวัสดุ อุณหภูมิ พื้นผิว โดยใช้การรับรู้ที่ผิวหนัง โดยเฉพาะที่ ปลายนิ้ว
5. การพูดและการได้ยิน (talking and/or hearing)
- การพูด: การแสดงหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นโดยใช้ภาษาพูด
- การได้ยิน: การได้ยินเสียงโดยใช้หูฟัง
6. การมอง (seeing)
การใช้ตามองรูปร่าง ขนาด ระยะทาง การเคลื่อนไหว สี หรือลักษณะอื่นของวัสดุ หน้าที่ของการมองหลักคือ
- การมองภาพชัดเจน (Acuity) มองไกลชัดเจนที่ 20 ฟุต (6 เมตร) หรือมากกว่านั้น มองไกล้ชัดเจนที่ 20 นิ้ว (50 ซม.) หรือใกล้กว่านั้น
- การมองภาพสามมิติ (Depth perception: three-dimensional vision) รับรู้ระยะทางและมิติของวัสดุ เชิงลึก เชิงกว้างและยาว
- ลานสายตา (field of vision) บริเวณที่สามารถมองเห็นด้านบน ด้านล่าง ด้านซ้ายและด้านขวา เมื่อตาถูก บังคับให้มองไปยังจุดที่กำหนด
- Accommodation การปรับเลนส์ของตาเมื่อนำวัสดุเข้ามาใกล้ เพื่อให้มีการโฟกัสให้ชัดเจน สำคัญในการ ทำงานที่ต้องมองใกล้
- การมองสี (colour vision) ความสามารถในการบ่งบอกและแยกสี