background
ศุกร์, 22 พฤษภาคม 2020

🌟ทำไม PM 2.5 แก้ไขไม่ได้สักที ? 📢

รูปประกอบจาก BBC Thai

ในภาวะฝุ่นละออง PM 2.5 ปกคลุมประเทศไทยช่วงธันวาคมถึงมีนาคมทุกปีตลอดสามปีที่ผ่านมา ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ปัจจัยหลัก 3 อันดับแรก มาจาก รถยนต์ กิจกรรมการเผา โรงงานอุตสาหกรรม รองลงมาเกิดจากการก่อสร้าง

แนวทางแก้ไขปัญหาในระยะยาว

  1. จำกัดปริมาณการใช้รถยนต์ในแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะรถที่ใช้น้ำมันดีเซล ในเขตประชากรหนาแน่น
  2. เพิ่มประสิทธิภาพของระบบขนส่งมวลชน เพื่อคนจะได้ไม่ต้องใช้รถยนต์ส่วนตัว
  3. จำกัดการอนุมัติก่อสร้างโครงการในแต่ละพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น

การแก้ปัญหาระยะสั้น

  1. รถกระบะดัดแปลง ตกแต่งเครื่องยนต์ รถที่ปล่อยควันดำต้องถูกควบคุมและจำกัดการใช้งาน
  2. จำกัดปริมาณการเข้า-ออก รถยนต์ส่วนตัวเป็นช่วงเวลาในเขตพื้นที่ประชากรหนาแน่น
  3. ลดกิจกรรมการเผาที่ทำให้เกิด NOx, SO2 เช่น เผาในที่โล่งแจ้ง การใช้น้ำมันดีเซลและถ่านหิน
  4. ประชาชนควรใส่หน้ากากป้องกันประเภท N95 ขณะอยู่นอกอาคาร ถ้าเป็นไปได้ควรติดตั้ง filtered air ในอาคาร และลดกิจกรรมกลางแจ้งเช่น ออกกำลังกายในสวนสาธารณะ ในช่วงระดับ PM 2.5 สูงถึงระดับอันตราย

ทั้งนี้ PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งระยะสั้น เช่น ไอ แสบคอ แสบจมูก และระยะยาว เช่น หลอดลมอักเสบ หอบหืด โรคหัวใจ มะเร็งปอด

ประชากรกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัวโรคปอด และโรคหัวใจ

แน่นอนว่าการแก้ปัญหาระยะสั้น เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ หากเราไม่แก้ไขที่ต้นเหตุ ทุกๆต้นปี เราก็จะเผชิญปัญหา PM 2.5 ซ้ำต่อไปอีกเรื่อยๆ เหมือนเดินซ้ำรอยประเทศอังกฤษช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ประเทศสหรัฐอเมริกาช่วงก่อนมี Clean air act เมื่อปีค.ศ. 1963 ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่เราทุกคนต้องหันมาร่วมมือกันแก้ไขปัญหา PM 2.5 ที่ต้นเหตุกันอย่างจริงจังสักที เพื่ออนาคตประเทศไทยจะได้มีอากาศบริสุทธิ์ไว้หายใจ