จันทร์, 12 ตุลาคม 2020

จิตใจกับ COVID-19

main_image
main_image
main_image
main_image
main_image
main_image

ไม่แปลกที่เราจะรู้สึกเครียด วิตกกังวล หรือซึมเศร้าในสถานการณ์ COVID-19 และ Post COVID-19 ให้ตรวจสอบตามบทความด้านล่างนี้ (เรียบเรียงจาก Website ของ NIOSH)

อาการเหล่านี้แสดงว่าคุณอาจมีความเครียด

  • ความรู้สึกอยู่ไม่สุข โมโห หรือ รู้สึกถูกปฏิเสธ
  • ความรู้สึกไม่แน่นอน ประสาท วิตกกังวล
  • ไม่มีแรงจูงใจให้ทำงาน
  • รู้สึกเหนื่อย เต็มตื้น หรือ หมดไฟ
  • รู้สึกเสียใจหรือซึมเศร้า
  • นอนไม่หลับ หรือหลับๆ ตื่นๆ
  • ไม่มีสมาธิ

รู้จักปัจจัยในงานที่เสริมความเครียดในช่วงการระบาด

  • กังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในที่ทำงาน
  • ต้องตอบสนองความต้องการของบุคคลอื่นหรือครอบครัวขณะทำงานอยู่
  • ทำงานด้วยภาระงานที่แตกต่างออกไป
  • ขาดการเข้าถึงเครื่องมือหรือความช่วยเหลือที่ต้องมีในงานของคุณ
  • รู้สึกว่าคุณยังทำงานไม่พอ หรือรู้สึกผิดที่ไม่ได้อยู่ในแนวหน้า
  • ไม่แน่ใจเกี่ยวกับอนาคตของงานของคุณ
  • ต้องเรียนรู้การใช้การสื่อสารใหม่ๆ หรือ มีเทคนิกยากๆ
  • ต้องปรับตัวกับสถานที่ทำงานหรือเวลาทำงานใหม่

การแก้ไข

ให้ปฏิบัติดังนี้เพื่อสร้างความยืดหยุ่นและจัดการกับความเครียดในงาน

  • สื่อสารกับเพื่อนร่วมงาน supervisor และ ลูกจ้างคนอื่น เกี่ยวกับความเครียดในงานขณะที่ต้องรักษาระยะห่าง (social distancing)
  • ค้นหาว่าอะไรทำให้เครียดและจัดการวิธีแก้ร่วมกัน
  • คุยอย่างเปิดอกกับนายจ้าง เพื่อนร่วมงาน และสหภาพ ว่าการระบาดนั้นมีผลต่อการทำงาน ควรคาดหวังว่าทุกคนจะพูดคุยอย่างตรงไป ตรงมา
  • ถามเกี่ยวกับการเข้าถึงแหล่งข้อมูลด้านสุขภาพจิตในที่ทำงานของคุณ
  • หาสิ่งที่คุณไม่สามารถควบคุมได้ และหาความสามารถที่จะทำใด้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • เพิ่มความรู้สึกถึงการควบคุม ถ้าเป็นไปได้ให้ทำให้เป็นกิจวัตรประจำวัน เหมือนที่เคยทำมาก่อนที่จะมีการระบาดของ C-VID-19
  • พยายามนอนให้ตรงเวลา
  • หยุดพักงานเพื่อออกกำลัง ยืดตัว หรือทักทายเพื่อนร่วมงาน ครอบครัว และเพื่อน
  • ใช้เวลากลางแจ้งบ้าง เพื่อออกกำลังกายหรือผ่อนคลาย
  • ถ้าทำงานที่บ้าน ให้ตั้งเป้าหมายเวลาที่จะเลิกทำงานในวันนั้นๆ ถ้าเป็นไปได้
  • ให้ใช้วิธี รู้ทำ (mindfulness technique)
  • ทำสิ่งที่ชอบระหว่างไม่ได้ทำงาน
  • ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ COVID-19 เตือนตนเองและเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับการป้องกัน เข้าใจความเสี่ยงและแบ่งปันข้อมูลที่ถูกต้องกับคนที่คุณรัก ชอบ ซึ่งจะสามารถทำให้คุณลดความเครียดและติดต่อกับผู้อื่น
  • เตือนตนเองว่าทุกคนมีบทบาทสำคัญในการต่อสู้กับโรคระบาดนี้
  • เตือนตนเองว่าทุกคนอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ และมีทรัพยากรจำกัด
  • พักจากการดู อ่าน และฟังข่าวบ้าง โดยเฉพาะจาก social media การฟังข่าวการระบาดบ่อยๆ จะทำให้หัวเสียและเพลียใจ
  • ติดต่อกับผู้อื่น คุยกับคนที่คุณไว้ใจเกี่ยวกับความกังวลของคุณ ว่าคุณรู้สึกอย่างไร และการระบาดของ COVID-19 มีผลกับคุณอย่างไร โดยติดต่อผ่านโทรศัพท์ email ข้อความ line ฯลฯ (เพื่อเพิ่ม social distancing) และคอยตรวจสอบกันและกัน ช่วยให้คุณรู้สึกว่าสามารถควบคุม เป็นส่วนหนึ่งของสังคม และสร้างตัวตน พยายามให้ความช่วยเหลือผู้อื่น โดยเฉพาะถ้าพวกเขาแสดงอาการของความเครียด
  • ถ้าคุณรู้สึกว่าต้องใช้เหล้าหรือยาอื่นๆ เพื่อลดความเครียด ต้องรีบขอความช่วยเหลือ
  • ถ้ากำลังรักษาโรคทางจิตใจอยู่ ให้ตระหนักเสมอว่าอาจจะมีอาการใหม่ๆ หรือ อาการอาจจะแย่ลงได้