background
อังคาร, 14 กรกฎาคม 2020

เทคโนโลยีเพื่อ disrupt งานอาชืวอนามัยและความปลอดภัย

วันนี้สอนแพทย์ 2 เดือน ไปค้นเนื้อหาเพื่อเตรียมสอน พบรูปหนึ่งซึ่งบอกอะไรหลายๆ อย่าง ลองดูในรูป จริงๆ พยายาม นั่งคิด และค้นหา new normal in occupational medicine ให้น้องๆ ในสถาบัน ซึ่งได้โจทย์ จากกรมการแพทย์มา ในหลายหน่วยงานเช่น Med Surg มันง่าย เพราะเป็นการรักษา ของ occ med จะค่อนข้างยาก ถึงยาก เพราะเป็นเรื่องการป้องกัน ที่ยากเพราะ

  1. การป้องกัน ถ้าทำได้ดีก็ไม่มีผลให้เห็น บริษัทจะเห็นแต่เงินที่เสียไป (คือจับ ต้องได้) เช่นกระทรวงสาธารณสุข คือ public health ไม่ใช่กระทรวงรักษาโรค แต่ไปเน้นรักษาโรค เป็นใหญ่ มีสถาบันโรคเกิดเยอะแยะ แต่ไม่มีสถาบันป้องกันโรค แม้แต่ ผอ คนไหนที่จะมาเป็นผอ เพื่อป้องกันโรคก็ดูยากเพราะไม่เห็นผลงานไม่ถนัด
  2. การป้องกันต้องใช้เงิน มาก แต่มีคนเคยคำนวนว่าการลงทุนป้องกัน 1 ดอลล่าร์ จะสามารถประหยัดเงินค่ารักษา ไป 16 ดอลล่าร์ แต่มันมองไม่เห็น
  3. คนงานที่ทำงานปัจจุบัน เป็น part time หรือ มาทำระยะสั้นเยอะ การลงทุนเพื่อป้องกันทุกคน จึงไม่ค่อยเห็นประโยชน์
  4. การลงทุนป้องกันส่วนใหญ่เป็น tailor made เราไม่ค่อยมี precision medicine ในเรื่องการป้องกัน

เรื่องสำคัญอีกเรื่องคือ การป้องกันไม่มีเครื่องมือที่วิลิศมาหรา มีแต่เครื่องมือ ที่เป็นแบบทดสอบ แบบฟอร์ม ฯลฯ สิ่งที่เกี่ยวกับการป้องกันมากคือ การวิจัย ค้นคว้า ปัจจุบัน เครื่องมือทดสอบว่าเป็น Center of Excellence อันหนึ่งคือมีเครื่องมือราคาแพง หรือไม่ (แปลกดี)

เช่น การตรวจสุขภาพ อย่างที่บอกว่าแทนที่จะคิดว่าคุ้มหรือไม่คุ้ม จำเป็นหรือไม่ที่ต้องตรวจ เป็น evidence base หรือไม่ กลับไปเน้นเรื่อง Protective medicine ไป กลายเป็นเน้นเครื่องป้องกันตัว ไป เช่นเหมือนตอน wave 1 สมาคมโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม เคยเน้นเรื่องให้งดตรวจสมรรถภาพปอดในช่วง COVID-19 ระบาด ก็ไม่มีคนงานเป็นโรคปอดจากการทำงานที่ต้องตรวจโดยตรวจสมรรถภาพปอดมากขึ้น ควรมีคนวิจัยต่อยอดไปว่า การตรวจสมรรถภาพปอดในอาชืพที่เสี่ยงจำเป็นต้องทำทุกปีหรือไม่ เป็นต้น new normal น่าจะเป็นอะไรก็ตามที่พ้นช่วง COVID นี้ไปแล้ว จะทำเป็นเรื่องปกติธรรมดาไป มีหลายเรื่องที่พูดว่า new normal อย่างนั้น อย่างนี้ มันเป็น abnormal สถาบันฯ เคยลงบทความแล้ว พอคลายล๊อค มันก็จะเริ่มเลือนไป เพราะมัน abnormal

tech

พูดซะเยอะ คือจะให้ดูรูปที่แนบมา เป็นรูป Workplace Safety and Health ของ Ministry of Manpower ของสิงคโปร์ เป็นเรื่องการใช้เทคโนโลยีมา Disrupt ระบบ OSH จะเห็นตั้งแต่เดินเข้ามามีเครื่อง face recognition ไม่ต้องลงทะเบียนมาทำงานหรือไม่ เวลาใด ใครเข้ามาใน site งานบ้าง ที่ตัวคนงานก็มีเครื่องติดตามในหมวก มี GPS ทำให้รู้ว่าคนงานอยู่ที่ไหน ทำอะไร มีเครื่องมีอสื่อสาร ติดต่อกับคนงาน ไม่ต้องตะโกน มีกล้องวงจรปิดคอยสังเกตุการทำงานที่เป็นอันตราย หรือสอบสวนอุบัติเหตุหรือโรคได้ นอกจากนั้นยังใช้ drone มาคอยดูแลความปลอดภัย ดู position ใครที่อาจเป็นอันตรายได้เช่นใช้ crane ยกของที่อาจมีเศษวัสดุหล่นและมีคนงานเดินผ่านด้านล่างหรือมีการตรวจว่ามีคนไม่ทำตาม procedure ความปลอดภัย ใครไม่ใส่หมวกนิรภัย ฯลฯ ทุกอย่างใช้ wireless และมีการเชื่อมต่อ โดย cloud เป็นภาพตัวอย่างที่เจ๋งมากครับ เป็นตัวอย่างที่เห็นเป็นรูปธรรม visual thinking ในการนำ technology มาใช้ในงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยครับ