;
การเปลี่ยนแปลงในการจัดองค์กร
มีการเปลี่ยนความสัมพันธ์จากนายจ้าง-ลูกจ้างระยะยาว เป็นการจ้างงานเป็น job หรือ Part time ทำให้เกิดความท้าทายคือ
- นายจ้างลงทุนในลูกจ้างลดลง ใช้ทรัพยากรในการฝึกอบรม สอน ระบบป้องกัน และสนับสนุนให้มี supervision น้อยลง
- ทำให้ยากที่จะระบุนายจ้างที่รับผิดชอบต่อลูกจ้างนั้นๆ
- ลูกจ้างอาจจะเปลี่ยนงานบ่อยครั้ง ทำให้ลดความคุ้นเคยต่อสิ่งคุกคาม การปฏิบัติตามความปลอดภัย ความถนัดในการใช้เครื่องมือ
- ทำให้ลูกจ้างลังเลที่จะใช้สิทธิของตนเอง
- ลดการลงทุนในเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและการจ้างผู้เชื่ยวชาญภายในองค์กร
การเปลี่ยนแปลงลักษณะของลูกจ้าง
- ลูกจ้างอายุมาก ทำให้เกิดความท้าทายคือ
- มีการจำกัดความสามารถด้านกายภาพและจิตใจ และเพิ่มการมีโรคเรื้อรัง
- มีลูกจ้างผู้หญิงมากในที่ทำงาน ทำให้เกิดความท้าทายคือ
- ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคมในที่ทำงานมาก และมีการเลือกปฏิบัติ รวมทั้งเรื่องสิ่งคุกคามด้านการเจริญพันธ์และ work- life balance จะมีความสำคัญขึ้น
- มีการเพิ่มของความแตกต่างในเชื้อชาติ ศาสนา และความเชื่ยวชาญในการทำงานมากขึ้น ทำให้เกิดความท้าทายคือ
- มีแนวโน้มที่จะมีการเลือกปฏิบัติ การเพิ่มผู้เสี่ยง กลุ่มคนที่ไม่มีอำนาจต่อรองและทำให้เกิดความเครียด และเพิ่มความแตกต่างด้านสุขภาพ
- เพิ่มโรคเรื้อรังในกลุ่มแรงงาน ทำให้เกิดความท้าทายคือ
- สุขภาพที่แย่เกี่ยวข้องกับการลดชั่วโมงการทำงาน การใด้ค่าจ้างน้อยลง การลาออกจากงานก่อนวัยอันควร และเกิดการสูญเสียสมรรถภาพ
ภาวะโลกาภิวัฒน์
- เกิด supply chain ซึ่งมีการจ้างผลิตของแบบ outsource เพื่อสนับสนุนผู้ผลิตในระดับโลก ทำให้เกิดความท้าทายคือ
- มีความต้องการแรงงานที่มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้เกิดความไม่มั่นคงในการจ้างงาน และมีแรงกดดันจากสหภาพ
- เพิ่มการย้ายแรงงาน และแรงงานอพยพ ทำให้เกิดความท้าทายคือ
- เกิด post-industrial economics, การเปลี่ยนจากอุตสาหกรรมการผลิตสู่อุตสาหกรรมบริการและอุตสาหกรรมการขนส่ง
- มีการแข่งกันลดค่าจ้าง กำไร ทำกฎหมายให้สะดวกต่อการทำธุรกิจ และไม่เอื้อต่อสิ่งแวดล้อม
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในงานและนอกงาน
มีความรู้ว่ามีหลายปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้าง นอกเหนือจากสภาพการทำงาน ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในลูกจ้างรูปแบบต่างๆ ทำให้เกิดความท้าทายคือ
- สภาพการจ้างงานจะไม่เป็นแบบจ้างติดสถานที่ แต่จะมีจลนภาวะและมีความถี่ในการเปลี่ยนงานสูง
- มีการประเมินปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่มีผลต่อสุขภาพของลูกจ้าง รวมทั้งผลจากชุมชน
- เข้าใจบทบาทของลูกจ้างในการสนับสนุนหรือเป็นส่วนหนึ่งของตัววัดด้านสุขภาพตัวอื่นๆ
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ได้แก่การมีอุณหภูมิสูงขึ้น ภาวะโลกร้อน และภัยธรรมชาติอื่นๆ ทำให้เกิดความท้าทายคือ
- เพิ่มความเสี่ยงต่อลูกจ้างหลายคน โดยเฉพาะเมื่อทำงานนอกอาคาร
- มีแนวโน้มว่าจะเกิดภัยธรรมชาติหลายรูปแบบ ทำให้มีงานที่มีความเสี่ยงสูงในผู้ทำงานตอบสนอง และการทำความสะอาดหรือเยียวยาหลังเกิด
เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในด้านสังคม เทคนิค และเศรษฐกิจ
เป็นพื้นฐานใหม่ของเศรษฐกิจของโลก ทำให้เกิดความท้าทายคือ
- มีอุตสาหกรรมและสถานที่ทำงานชนิดใหม่ๆ ขึ้น
- มีการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานในสถานที่ทำงาน (เช่นลดเวลาการทำงาน ทำงานจากบ้าน)
ลดการทำงานเป็นกลุ่ม
ลดจำนวนและเปอร์เซ็นต์ของลูกจ้างที่จะจัดตั้งเป็นสหภาพแรงงาน ทำให้เกิดความท้าทายคือ
- ตามประวัติศาสตร์สหภาพเป็นแรงผลักสำคัญในการปฏิรูปสภาพการทำงาน กฎระเบียบต่างๆ และทำให้เกิดความมั่นคงในงานของลูกจ้าง
การให้ทุนโดยรัฐบาลและแนวโน้มของนโยบาย
- มีการจำกัดของระเบียบอย่างมาก ทำให้เกิดความท้าทายคือ
- มีการทำตามมาตรฐานโดยความรู้เกี่ยวกับเหตุผลทางวิทยาศาสตร์จำกัด
- มีสิ่งคุกคามใหม่ๆเกิดขฝ้นซึ่งยากหรือเป็นไปไม่ได้ที่จะควบคุม
- ลดทุนในการศึกษาและการวิจัย ทำให้เกิดความท้าทายคือ
- มีความยากในการรวบรวมและสนับสนุนนักเรียนในด้านต่างๆ ทำให้มีแนวโน้มว่าผู้เชื่ยวชาญที่มีสมรรถนะจะลดลง
- การวิจัยจะลดลง
มีความสามารถด้านเทคโนโลยีและการเก็บข้อมูลใหม่ๆ เกิดขึ้น
- ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สร้างโอกาสที่จะเก็บและวิเคราะห์การสัมผัสและสุขภาพของลูกจ้าง ทำให้เกิดความท้าทายคือ
- มีความเข้าใจบทบาทของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานร่วมกันการสัมผัสอื่นๆ ตลอดชีวิต (exposome) ที่มีผลต่อสุขภาพ ซึ่งต้องใช้ มาตรการการจัดการเรื่องการสัมผัสในองค์กร
- การแปลผลไปสู่การป้องกัน โดยวิธีที่ทันสมัยและก้าวหน้าขึ้น
งานและความแตกต่างของผลด้านสุขภาพ
สถานะที่ถ่างกว้างด้านสังคมเศรษฐกิจและความแตกต่างด้านสุขภาพมีส่วนหนึ่งที่เกิดจากสภาพงาน ทำให้เกิดความท้าทายคือ
- งานเป็นส่วนที่เกี่ยวกับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี แต่มีหลายตัวแปรขึ้นกับสภาพสถานที่ทำงาน ซึ่งทั้งสองอย่างจะต้องอยู่ในโมเดลสุขภาพของลูกจ้าง