background
อาทิตย์, 12 กรกฎาคม 2020

เตรียมตัวไว้สำหรับ COVID19 รอบสอง มันมาแน่

อาชืพที่เสี่ยง

อาชีพที่เสี่ยงมากที่สุดคือ บุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ห้องแล็บ

ตอนนี้มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อกว่า 90,000 คน ทั่วโลก เท่ากับทั่วโลกลดคนที่จะช่วยเหลือผู้ป่วยลง 90,000 คน คนเจ็บ คนตายด้วยโรคระบาด COVID-19 ก็เพิ่มขึ้น

จากการศึกษาย้อนหลังพบว่าตั้งแต่โรค SARS แหล่งแพร่ระบาดสำคัญคือโรงพยาบาล และผู้ที่มีโอกาสสัมผัสเชื้อมากที่สุดคือ บุคลากรทางการแพทย์ ในประเทศจีน มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ 3,300 คน หรือ 4% ของคนไข้ที่รายงาน 81,285 คน ในประเทศสเปนในวันที่ 25 มีนาคม มีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อกว่า 6,500 คน คือ 13.6% จากคนติดเชื้อทั้งหมด 47,600 คน ในการศึกษาย้อนหลังพบว่าในอู่ฮั่น คนไข้ 138 คน เกิดจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลถึง 41%

เดือน มิย นี้ มีการประมาณว่ามีบุคลากรทางการแพทย์ติดเชื้อ COVID-19 อย่างน้อย 90,000 คน ในประเทศกลุ่มอียู และมีพยาบาลเสียชีวิตจากโรคนี้มากกว่า 260 คน ในประเทศอิตาลีมีแพทย์ 154 คน และทันตแพทย์ ถึงแก่กรรมจากโรคระบาดนี้ ในประเทศอังกฤษ ในเดือนเมษายน มีเจ้าหน้าที่ของ NHS ถึงแก่กรรม 82 คน และเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์ถึงแก่กรรม 16 คน ในประเทศอเมริกามีบุคลากรทางการแพทย์ ถึงแก่กรรม 170 คน เป็นพยาบาล 60 คน (รายงานเมื่อ 28 เมษายน)

  • อาชีพที่เสี่ยงมาก ได้แก่ พนักงานรับส่งผู้ป่วย พนักงานที่ไปกับรถพยาบาล
  • อาชีพที่เสี่ยงปานกลาง ได้แก่ลูกจ้างที่ต้องสัมผัสกับประชาชนทั่วไปปริมาณมาก เช่นในโรงเรียน ในตลาด
  • อาชีพที่เสี่ยงน้อย (ให้ระวัง) ลูกจ้างที่มีการสัมผัสทางอาชีพกับประชาชนหรือเพื่อนร่วมงานน้อย เช่น พนักงานออฟฟิต

เตรียมสถานที่ทำงานให้พร้อมสำหรับ COVID -19

  • ให้ความรู้เรื่อง การเว้นระยะห่าง การใส่หน้ากาก การล้างมือ ในการสื่อสารทุกครั้งที่ทำ เช่นการออกเสียงตามสาย การทำกิจกรรมความปลอดภัย การส่งข้อความทาง Social ทุกวัน
  • การทำโปสเตอร์เพื่อให้พนักงานรักษาสุขภาพปอด เช่นงดสูบบุหรี่ ใส่หน้ากากกันฝุ่นในงาน หรือให้ความรู้ทุกครั้งที่สื่อสาร
  • จัดทำแคมเปญสื่อสารนโยบายการป้องกันโรคให้กับพนักงาน
  • จัดเตรียมการดูแลโรงงาน เตรียม PPE

ให้ความรู้ในเรื่อง

  1. ส่งเสริมการใส่หน้ากาก งดบุหรี่ มีกระดาษ สำหรับใครที่เป็นหวัดไว้เช็ดและสั่งน้ำมูก มีถังขยะทิ้งปิดมิดชิด
  2. ส่งเสริมให้มีการล้างมือสม่ำเสมอ จัดที่ล้างมือให้เข้าถึงได้ง่าย จัด Alcohol Gel สำหรับพนักงาน
  3. ทำความสะอาด โต๊ะทำงาน โทรศัพท์ แป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช้า เย็น
  4. ส่งเสริมการทำงานระยะไกล เมื่อมีการระบาดมาก เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสจากการเดินทาง และติดต่อจากเพื่อนร่วมงาน

หน้าที่ของหน่วยงานอาชีวอนามัย

  1. ประเมินความเสี่ยง จัดทำหรือทำแผนป้องกัน เก็บกัก หลีกเลี่ยง(อพยพ) และฟื้นฟูให้ทันสมัย
  2. ชี้บ่งกลุ่มอาชีพที่เสี่ยง สื่อสารความเสี่ยง ให้คำแนะนำในการป้องกัน เฝ้าระวังสุขภาพคนทำงาน
  3. ดูแลเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในงานทางเลือก เช่น การทำงานจากบ้าน
  4. เข้าร่วมในแผนการดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง
  5. ประเมินความเสี่ยง ชี้บ่ง บันทึก และติดตามการสัมผัสในงาน
  6. สื่อสารความเสี่ยงและเข้าหาคนทำงาน ให้การสนับสนุนด้านจิตสังคม
  7. ร่วมมือกับชุมชน หรือโรงพยาบาลโดยรอบ

ความท้าทาย

  1. อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในคนทำงานเพื่อให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ ในเรื่องบริการสาธารณะเช่น ด้านการแพทย์ อาหาร สาธารณูปโภค การสื่อสาร ความมั่นคงปลอดภัย
  2. จัดการหรือร่วมมือกับคนทำงานที่ไม่ได้อยู่ในองค์กร เช่นในเศรษฐกิจนอกระบบ งานครั้งคราวหรืองานรับจ้าง งานที่ทำที่บ้าน
  3. ควบคุมการติดเชื้อในคนทำงาน/อาชีพที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่การประเมินความเสี่ยง การจัดการความเสี่ยง และการเฝ้าระวัง
  4. อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการจัดการเพื่องานทางเลือก
  5. ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อให้คนทำงานยังได้รับการดูแลด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เช่น บริการทางไกล สายด่วน การพูดคุยทาง web การใช้ applications การใช้ AI ด้านการประเมินความเสี่ยง และการใช้ Drone