background
พฤหัสบดี, 09 กรกฎาคม 2020

Disease surveillance & Medical Surveillance

การเฝ้าระวัง (Surveillance)

คือ กิจกรรมในการตรวจสอบติดตาม (Monitor) พฤติกรรม (Behavior) กิจกรรม (Activity) หรือข้อมูล (Information) ของคนหรือสิ่งแวดล้อม เพื่อวัตถุประสงค์ในการ ควบคุม ปกครอง บริหารจัดการ หรือปกป้อง เป็นหลัก การเฝ้าระวังโรคในบริบทของอาชีวอนามัยเน้นเรื่องความเจ็บป่วยเฉียบพลันและเรื้อรังที่เกิดจากการทำงาน

การเฝ้าระวังโรค (Disease Surveillance)การเฝ้าระวังทางสุขภาพ (Medical Surveillance)
กิจกรรมทางด้านระบาดวิทยา ที่ติดตามดูลักษณะการแพร่กระจายของโรค และจํานวนผู้ป่วยเป็นโรค อย่างต่อเนื่อง เพื่อหวังผลใน การควบคุมการแพร่กระจาย การติดต่อและแพร่ระบาด (ในกรณีโรคติดต่อ) และลดอัตราการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือสูญเสียชีวิตจากโรคนั้นๆการตรวจสอบติดตามเหตุการณ์ด้านสุขภาพในประชากร อย่างเป็นระบบและ ต่อเนื่อง เพื่อผลในการป้องกันโรคและทําให้คนทำงานมีสุขภาพดี

การศึกษาระบาดวิทยา

การศึกษาระบาดวิทยาเป็นพื้นฐานของระบบเฝ้าระวังโรค เช่น การศึกษาหาปัจจัยเสี่ยง หาพฤติกรรม และหาสาเหตุของการเกิดโรค

ชนิดของการเฝ้าระวังโรคในสถานประกอบการ

  1. Passive surveillance การเฝ้าระวังเชิงรับ เช่น ห้องพยาบาล ต้องรอผู้ป่วยมาหา เพราะฉะนั้นจะมีอาการแล้ว
  2. Active surveillance การเฝ้าระวังโรคเชิงรุก คือการออกค้นหา โดยมุ่งเน้นที่ค้นหาผู้ป่วยก่อนที่จะเกิดอาการ

วัตถุประสงค์ของการเฝ้าระวังสุขภาพ

วัตถุประสงค์หลักของการเฝ้าระวังด้านอาชีวอนามัยคือ การป้องกันก่อนที่จะเกิดโรคและการบาดเจ็บจากการประกอบอาชีพเพราะโรคจากการประกอบอาชีพมักเป็นโรคที่รักษาไม่ได้

วัตถุประสงค์ของการเฝ้าระวังโรค

  1. อธิบายถึงภาวะสุขภาพคนทำงานและประเมินการเกิดอุบัติเหตุจากการบาดเจ็บและการเกิดโรค
  2. กระตุ้นให้เกิดการศึกษาด้านระบาดวิทยาทางโรคจากการทำงาน และค้นหาสาเหตุ
  3. คาดการณ์การเกิดอุบัติเหตุจากการบาดเจ็บและโรคจากการทำงานและการกระจายตัวของโรค
  4. เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการทำวิจัย
  5. เพื่อประเมินประสิทธิผลของมาตรการควบคุมที่ดำเนินการก่อนหน้านี้

การเฝ้าระวังโรคจากการทำงานในสหรัฐอเมริกา

ใบมรณบัตร

ในประเทศอเมริกาข้อมูลที่นำมาใช้หาสาเหตุการตายคือข้อมูลที่ลงไว้ในใบมรณบัตร ซึ่งแต่เดิมค่อนข้างมีปัญหาเนื่องจากการมีหลายรัฐทำให้มาตรฐานการลงรหัสโรคแตกต่างกันทำให้ได้ข้อมูลไม่ครบถ้วน ซึ่งต่อมาได้มีการจัดตั้งองค์กรเพื่อบริหารจัดการ เพื่อใช้ในการประเมินแนวโน้มและระบุถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงาน รวมทั้งการพัฒนาระบบ Online ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว

การเฝ้าระวังโรคจากการทำงานในสหรัฐอเมริกา State-Based Systems

  1. Occupational Health Indicators ตัวชี้วัดทางอาชีวอนามัย เพื่อเป็นข้อมูลว่าคนทำงานสัมผัสสิ่งคุกคามใดและมีอัตราการเจ็บป่วยมากเท่าใด
  2. The Behavioral Risk Factor Surveillance System เพื่อประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตัวที่เสี่ยงต่อการทำงาน
  3. Cancer Registries รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคมะเร็งและการตายจากโรคมะเร็งในผู้ทำงาน
  4. Hospital Discharge Data
    ข้อมูลการนอนโรงพยาบาล
  5. Workers' Compensation Data ข้อมูลการชดเชยการบาดเจ็บและเจ็บป่วยจากงาน

ตัวอย่างโรคที่มีการเฝ้าระวังในประเทศไทย

กลุ่มโรคที่อยู่ภายใต้การเฝ้าระวังประกอบด้วย

  1. โรคซิลิโคสิส (Silicosis) โรคฝุ่นจับปอดจากฝุ่นอื่นที่มีซิลิก้า
  2. โรคที่เกิดจากแร่ใยหินแอสเบสตอส (Asbestos related diseases)
  3. การบาดเจ็บจากการทำงาน ข้อมูลการเจ็บป่วย / ตายได้จากรายงานประจำปีของกองทุนเงินทดแทนและข้อมูลป่วย / ตาย ตาม ICD-10จากรายงาน 43 แฟ้ม และข้อมูลป่วย / ตาย จากระบบการเฝ้าระวังการบาดเจ็บ 19 สาเหตุ ของสำนักระบาดวิทยา
  4. โรคกระดูกและกล้ามเนื้อ (MSDs)
  5. โรคหูเสื่อมจากเสียงดัง
  6. โรคพิษสารทำละลายอินทรีย์ (Organic Solvents Poisoning)

การเฝ้าระวังทางการแพทย์ Medical Surveillance

“Occupational medicine practice focuses on preventing occupational diseases in workers”

Medical Screening การตรวจสุขภาพ เป็นกระบวนการค้นหาผู้ที่เจ็บป่วย

Medical Surveillance เป็นกระบวนการในการค้นหาความเสี่ยง ค้นหาปริมาณการสัมผัส และนำสิ่งคุกคามออก โดย Medical Screening เป็นส่วนหนึ่งของ Medical Surveillance

ขั้นตอนการเฝ้าระวังทางสุขภาพ

  1. เก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ป่วย เจ็บป่วยด้วยโรคอะไร ช่วงเวลาไหน ลักษณะของโรคเป็นอย่างไร ติดต่อได้ทางไหน และรุนแรงขนาดไหน
  2. จัดหมวดหมู่และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อสรุปผลและวางแผนในการดำเนินการป้องกันโรคต่อไป
  3. รายงานผลการวิเคราะห์แก่ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ประชาชน สื่อมวลชน
  4. ดําเนินการแก้ไขสถานการณ์ ดำเนินการแก้ไขเพื่อลดการเกิดโรค ค้นหาผู้ที่เป็นโรค และฟื้นฟู

องค์ประกอบที่สำคัญของการเฝ้าระวังโรค

  1. เฝ้าระวังที่สิ่งคุกคาม (Hazard surveillance)
  2. ตรวจติดตามในสิ่งแวดล้อม (Environmental monitoring)
  3. ตรวจติดตามในร่างกายคนทํางาน (Biological monitoring)
  4. เฝ้าระวังผลกระทบต่อสุขภาพ (Health effect surveillance)
  5. เฝ้าระวังโรคจากการทํางาน (Occupational diseases surveillance)

การตรวจสุขภาพ ในทางการแพทย์มีการตรวจหลายแบบ 1.การตรวจสุขภาพก่อนจ้างงาน (pre-employment examination)

  1. การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทำงาน (pre-placement examination)
  2. การตรวจสุขภาพตามระยะ (periodic examination)
  3. การตรวจประเมินความพร้อมในการทำงาน (fitness for work examination)
  4. การตรวจสุขภาพก่อนกลับเข้าทำงาน (return to work examination)
  5. การตรวจสุขภาพก่อนเกษียณ (retirement examination) A. Occupational Diseases โรคจากการทำงานเกิดจากการสัมผัสสิ่งคุกคามต่าง แต่ปัญหาที่แท้จริงคือบางทีคนงานไม่รู้ว่าคนสัมผัสสารใด หรืออาจสัมผัสหลากหลายสาร หรือไม่รู้ปริมาณการสัมผัสที่แท้จริง ซึ่งการตรวจสุขภาพเป็นหนึ่งในมาตรการที่ใช้ค้นหาผู้เจ็บป่วยเบื้องต้น B. Occupational Injuries การบาดเจ็บจากการทำงาน ซึ่งมักเกิดจากการเกิดอุบัติเหตุ แต่ปัญหาปัจจุบันคือการบาดเจ็บหลายๆอย่างบอกได้ไม่ชัดเจนว่าเกิดจากการทำงานหรือไม่ เช่น การปวดหลังส่วนล่างสาเหตุเกิดจากการบาดเจ็บหรือเกิดจากโรคซึ่งเสื่อมตามอายุ

การป้องกัน

Primary Prevention การป้องกันโรคระดับปฐมภูมิ คือ การป้องกันโรคก่อนที่จะเกิดโรค ซึ่งในทางทฤษฎีคือลดการสัมผัสสิ่งคุกคามที่ก่อให้เกิดโรค Secondary Prevention การป้องกันโรคระดับทุติยภูมิ โดยการค้นหาผู้ที่เริ่มมีอาการ ซึ่งการทำ Medical Screening อยู่ในขั้นตอนนี้ ซึ่งบทบาทของแพทย์จะอยู่ในขั้นตอนนี้ ซึ่งรวมถึงการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ Tertiary prevention การป้องกันโรคระดับตติยภูมิ โดยการดูแลผู้ป่วยที่เกิดความผิดปกติชัดเจนแล้ว เป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อน หรือความพิการ ตลอดจนฟื้นฟูจนกลับเป็นปกติ ซึ่งในทางอาชีวอนามัยยังหมายรวมถึงการปรับเปลี่ยนงานให้เหมาะสมกับผู้ป่วย

Regulation (การควบคุม)

การควบคุมสารที่มีอันตรายต่อสุขภาพตามกฏข้อบังคับทางสุขภาพต่างๆ ซึ่งอาจอ้างอิงจาก

  • OSHA หน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกา สังกัดกระทรวงแรงงาน
  • ACGIH องค์กรนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมภาครัฐแห่งประเทศอเมริกา
  • ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ขีดจํากัดความเข้มข้นของสารเคมีอันตราย

ซึ่งหน้าที่ของสถานประกอบการคือปฏิบัติตามกฏข้อบังคับให้ถูกต้องและสม่ำเสมอ ซึ่งควรมีการร่วมประเมินกับแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ และควรมีการจัดทำแนวทางเฉพาะของแต่ละสถานประกอบการ

OSHA ระบุว่าการเฝ้าระวังทางการแพทย์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพนักงานที่สัมผัสสารควบคุมมากกว่าระดับที่เรียกว่า "Action Level" (>50% PEL)

Susceptibility

ซึ่งการสัมผัสต่อให้ นาย ก สัมผัสสารเท่ากับ นาย ข ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดอาการเหมือนกัน เช่น เกณท์ที่กำหนดสำหรับสาร A กำหนดไว้ที่ไม่เกิน 10 ตลอด 8 ชั่วโมงการทำงาน นาย ก อาจเริ่มมีอาการตอนระดับสาร 8 ในขณะที่นาย ข อาจมีอาการที่ระดับ 50 เพราะฉะนั้นการเฝ้าระวังทางสุขภาพควรมีมาตรการที่เหมาะสม

รวมทั้งปัจจัยอื่นๆในแต่ละบุคคลที่อาจส่งผลให้เจ็บป่วยได้มากขึ้น เช่น ในคนที่สูบบุหรี่ อาจตอบสนองกับสารที่ก่อให้เกิดโรคหอบหืดในระดับสารที่ต่ำกว่าที่ไม่สูบบุหรี่

Reporting

การเก็บข้อมูลรายงานการเฝ้าระวังทางการแพทย์ ประเด็นสำคัญคือนอกจากข้อมูลแล้วควรมีข้อมูลเกี่ยวกับความเข้าใจของพนักงานในการทำงานกับสิ่งคุกคามตลอดจนความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับสิ่งคุกคามและสุขภาพ ข้อคิดเห็นของแพทย์ ซึ่งสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือการรักษาสิ่งที่เป็นความลับของพนักงาน

ซึ่งมาตรฐานของ Osha ในปัจจุบันกำหนดว่า นายจ้างต้องเก็บข้อมูลการทำงานและข้อมูลการเจ็บป่วยของพนักงานไว้อย่างน้อย 30 ปีหลังจากออกจากงาน

EDUCATE & INFORM

การให้ความรู้และการฝึกฝนให้แก่พนักงานเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในเรื่องความปลอดภัยและการดูแลสุขภาพ